จากการที่ช้างเลี้ยงในประเทศไทยได้รับบาดเจ็บล้มตายจากความเจ็บป่วยและอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การถูกรถชน
การเดินตกท่อ ทำให้ปริมาณช้างเลี้ยงลดลงไปเรื่อยๆ จนอาจสูญพันธุ์ได้ในอนาคต แม้ว่าสัตวแพทย์จะทุ่มเทแรงกาย
แรงใจในการรักษาและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การรักษาและการวินิจฉัยช้างป่วยทำได้ยากมาก เนื่องจากขาด
อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการรักษา เช่น เตียงผ่าตัดสำหรับช้าง ชุดพยุงช้าง เครื่องถ่ายภาพที่มีกำลังสูง เวชภัณฑ์ที่มี
ราคาแพง เช่น ยาซึม ยาสลบ และยาแก้ฤทธิ์การสลบ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการวางยาสลบ เช่น เครื่องดมยาสลบ
และท่อช่วยหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ในบางกรณีที่ช้างหรือสัตว์ป่าได้รับความเจ็บป่วยในพื้นที่ห่างไกล ไม่สามารถ
เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยได้ จึงจำเป็นต้องมียานพาหนะที่บรรทุกเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การรักษาไปทำการรักษา ณ จุดที่
เกิดเหตุ ซึ่งรวมทั้งในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อประชาชนได้ เช่น การควบคุมช้างตกมันไม่ให้อาละวาด ทำร้าย
ประชาชน และยานพาหนะที่ใช้ในการออกปฏิบัติงานตรวจเยี่ยมสุขภาพช้าง และสัตว์ป่าในพื้นที่ภาคตะวันตก และ
จังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจะช่วยทำให้ช้างและสัตว์ป่ามีสุขภาพดี ดังจะเห็นได้ว่าการรักษาช้างนั้น ในแต่ละครั้งจะมีค่าใช้
จ่ายสูง ใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก และนายสัตวแพทย์ที่ทำการรักษาจะต้องมีความชำนาญและรู้จักช้างเป็นอย่างดี
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสนได้จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาช้างและสัตว์ป่าขึ้น ตั้งแต่ปี
2540 โดยให้บริการรักษาช้างและสัตว์ป่าในเขตภาคตะวันตก และจังหวัดใกล้เคียง ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ทำการ
รักษาช้างเลี้ยงและสัตว์ป่าที่ป่วยเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้กองทุนเพื่อรักษาช้างและสัตว์ป่ายังได้ให้การรักษาพยาบาลสัตว์ป่าของกลางหลายชนิด ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จับมาจากผู้กระทำผิดที่ลักลอบนำออกจากเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เช่น ตัวลิ่ม เก้ง ชะนี
เสือ เป็นต้น สัตว์เหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสภาพให้สมบูรณ์ดังเดิมก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
|